วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โครงการพระราชดำริ

โครงการศึกษาประเมินศักยภาพและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
เพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ






 ความเป็นมาและปัญหา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยในพสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะเกษตรกรในชนบทที่ยากไร้รวมทั้งชาวเขาเผ่าต่างๆราษฎรเหล่านี้ ขาดแคลนที่ทํากินขาดแหล่งน้ำและขาดความรู้ในการเกษตรกรรมที่ดีพอจึงทําให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหา ความยากจนของตัวเองได้ ี่พระองค์เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรหรือได้สดับรับฟังปัญหาก็มักทรงมีพระราชดําริให้การช่วยเหลืออยู่เสมอมาจนเกิดเป็น โครงการในพระราชดําริ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ และโครงการหลวง ต่างๆ มากมายกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
โครงการหลวงเกิดขึ้นจากการเสด็จเยี่ยมราษฎรชาวเขาในภาคเหนือทรง
ทราบถึงปัญหาการตัดไม้ทําลายป่า เผาถ่านทําไร่เลื่อนลอยมีการปลูกข้าวไร่ไว้กินและมีการปลูกฝิ่นไว้ขาย เนื่องจากที่บนเขามีความ ลาดชัน หน้าดินถูกชะล้างโดยง่ายทําให้ดินเสื่อมโทรม ชาวเขาจึงมักย้าย ที่เพาะปลูกโดยการรุกที่ป่าเข้าไป เรื่อยๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดํารให้พัฒนาอาชีพของชาวเขาจากการปลูกฝิ่นเป็นการ ปลูกพืชทดแทนอย่างอื่น เช่น ท้อ โดยจัดตั้งโครงการหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 เพื่อช่วยเหลือดูแลการพัฒนา ตลอดจนรับซื้อผลผลิตต่อมาจึงได้ มีการวิจัยโดยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อนําพืชผักและไม้ดอก จากเมืองหนาว ต่างประเทศมาทดลองปลูกมากมายหลายชนิดและมี การพัฒนาเพิ่มในที่ต่างๆ ถึง 37 ศูนย์ใน 5 จังหวัดภาคเหนื อตอนบน ในปี พ.ศ. 2546 เกษตรกรในพื้นที่ พัฒนาโครงการหลวงมีรายได้จาก การขาย ผลผลิตรวมกันเกือบ 300 ล้านบาท นอกจากการพัฒนาอาชีพและสังคมแล้ว โครงการหลวงยังมีบทบาทสําคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนต้นน้ำลําธารอีกด้วย
โครงการพระราชดำริ จํานวนมากที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เป็นการพัฒนาแบบ ผสมผสานเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ ของราษฎรในชนบท และยังเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการพัฒนาทาง เกษตรกรรมให้แก่นิสิตนักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป โครงการพระราชดําริบางโครงการเป็นการวิจัย พัฒนาสิ่งประดิษฐ์; ที่เกิดจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่น กังหันน้ำมูลนิธิชัยพัฒนา การแกล้งดินเพื่อแก้ดินเปรี้ยว การปลูกหญ้าแฝกเพื่อ รักษาหน้าดิน โครงการแก้มลิงหรือการทําเกษตร อย่างพอเพียง ฯลฯ
โครงการพัฒนาส่วนพระองค์เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวที่ทรงใช้ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดให้มีโครงการพัฒนาบนพื้นที่ส่วนพระองค์ เพื่อเป็นการพัฒนาด้านเกษตรกรรมตามแนวทาง เกษตรทฤษฎีใหม่ สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้ง เพื่อให้เป็นสถานที่ ทดลอง ค้นคว้า ศึกษา อบรมให้แก่ เกษตรกร และนิสิตนักศึกษาในด้านการพัฒนาสร้าง รูปแบบการประกอบอาชีพของชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกษตรกร ในพื้นที่ใกล้เคียงและ ผู้สนใจได้ นําไปถือปฏิบัติเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรและเกษตรกรที่ยากจนให้มีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น
กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเป็นหน่วยงานด้านวิชาการและปฏิบัติที่มีภารกิจในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย บริหารจัดการ ควบคุมดู แล อนุรักษ์ ฟื้นฟู และทรัพยากรน้ำบาดาล ได้รับการติดต่อประสานงานจาก สํานักงานจั ดการทรัพย์ สินส่ วนพระองค์ ให้สนับสนุนการพัฒนาน้ำบาดาลสําหรับกิ จกรรมต่ างๆ ของ โครงการในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อย่างต่อเนื่องกันมา และกรมทรัพยากรน้ำบาดาลก็ได้ ใช้ หลักวิชาการในการพัฒนาน้ำบาดาล ได้แก่ การศึกษาประเมินศักยภาพ พัฒนาแหล่งน้ำบาดาล ตลอดจน สร้างเครือข่ายติดตามเผ้าระวังผลกระทบที่อาจติดตามมาจากการใช้ น้ำนอกจากนี้ แล้ว ยังใช้เป็นต้นแบบ สําหรับการพัฒนาน้ำบาดาลของพื้ นที่ใกล้เคียงที่ มี สภาพอุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน ที่จะนําแนวทางไป พัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อกิจกรรมทางการเกษตรตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม ่ต่อไป
ในปีงบประมาณ 2549 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลมีเป้าหมายที่จะดําเนินพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อ สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ในพื้นที่ 5 โครงการ ซึ่ งได้มีการสํารวจเบื้องต้นและเห็นว่ามี ความต้องการน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และเพื่อกิจกรรมของโครงการเหล่านั้น
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาน้ำบาดาลสําหรับการอุ ปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตรกรรมให้ แก่โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดําริ โครงการส่วนพระองค์ หรือโครงการหลวง เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่โครงการได้ความ เป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น
2. เพื่อศึกษาประเมินศักยภาพน้ำาบาดาลขั้นรายละเอียด และพัฒนาน้ำบาดาลให้แก่โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดําริต่ างๆ พร้อมจัดสร้างเครือข่ายติดตามเฝ้าระวัง สํ าหรับการบริหารจั ดการแหล่งน้ำ บาดาลตามหลักวิชาการ โดยให้ผลการศึกษาเป็นต้นแบบสําหรับนําไปประยุกตฺ์ใช้ในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีสภาพ อุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน
3. ประโยชน์
1) ราษฎรในพื้นที่โครงการได้มีน้ำพื่อการอุโภค บริโภค และเพื่อการเกษตร อย่างพอเพียง มีแหล่งน้ำ สําหรับการเกษตรในฤดูแล้ง
2) ทําให้ทราบศักยภาพน้ำบาดาลของแอ่งน้ำบาดาล สําหรับการเกษตรและการอุปโภค-บริโภค ซึ่งเป็น ข้อมูลสําคัญในการวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของแต่ละโครงการ
3) มีการตรวจสอบและติดตามสภาพน้ำบาดาลที่อาจได้รับผลกระทบ ทั้งในพื้นที่โครงการและใกล้เคียง เพื่อป้องกันวิกฤตการณ์น้ำบาดาล
4) เกษตรกรนอกโครงการสามารถนําผลที่ได้จาการศึกษา ไปออกแบบและก่อสร้างระบบการจ่ายน้ำเพื่อ การเกษตรกรรมในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีสภาพอุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน
4.งานที่ปฎิบัติ กิจกรรมหลัก และผลผลิต

http://loveking999.blogspot.com/2010/02/blog-post_1493.html



โครงการพระราชดำริฝนหลวง
ที่มาโครงการพระราชดำริฝนหลวง
                    

   "เงยหน้าดูท้องฟ้ามีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้
ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ ก็เคยได้ยินเรื่องทำฝน
ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้ มีหนังสือ
เคยอ่านหนังสือ ทำได้..."
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณที่ห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผันแปร และความคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ
นับตั้งแต่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ได้รับสนองพระราชดำริไปดำเนินการศึกษาค้นคว้าทดลองโปรยสารเคมีด้วยเครื่องบินเป็นครั้งแรก ณ วนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เมื่อ ๒ กรกฎาคม ๒๕๑๒ จากนั้นเป็นต้นมา ก็มีการขยายผลการปฏิบัติไปช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ เป็นประจำทุกปี จนรัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกา ก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘
พระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับฝนหลวง เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่วางแผนสาธิตการทำฝนหลวงลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ให้ผู้แทนจากประเทศสิงคโปร์ชมวางแผนปฏิบัติการด้วยพระองค์เอง สามารถทำให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายอ่างเก็บน้ำได้อย่างแม่นยำภายในเวลาที่กำหนด
ภารกิจของสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงมีเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ และเพื่อให้การปฏิบัติงานมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ คณะรัฐมนตรีจึงเห็นชอบให้รวมสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงกับกองบินเกษตรเข้าเป็นหน่วยงานเดียว ชื่อว่า "สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร"
กองทัพอากาศได้เข้ามารับสนองพระราชดำริในโครงการฝนหลวงอย่างจริงจัง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๕ เนื่องจากในปีนั้นได้เกิดภาวะฝนแล้งผิดปกติในฤดูเพาะปลูก และเกิดขาดแคลนน้ำอย่างหนัก กองทัพอากาศจึงได้จัดเครื่องบินพร้อมเจ้าหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวงตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร้องขอ จนถึง พ.ศ.๒๕๓๗ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ที่ประเทศชาติจะได้รับจากโครงการฝนหลวงในพระราชดำริ จึงได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงกองทัพอากาศขึ้น เพื่อวางแผน อำนวยการ ควบคุม กำกับการ และประสานการปฏิบัติร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ในการปฏิบัติการฝนหลวงของกองทัพอากาศ มิใช่เพียงการใช้เครื่องบินและกำลังพลเข้าปฏิบัติการเท่านั้น หากแต่ยังได้จัดทำ
โครงการวิจัยและพัฒนากระสุนสารเคมีซิลเวร์ไอโอไดด์ ที่ใช้กับเครื่องบินที่ปฏิบัติการทำฝนหลวงในเมฆเย็น
โครงการวิจัยควบคุมดินฟ้าอากาศ แนววิจัยโครงการนี้คือ การนำสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า ทำให้เมฆรวมตัวและก่อให้เกิดฝนตกได้ ถึงแม้ว่าในขณะนั้นท้องฟ้าจะไม่มีเมฆเลยก็ตาม ซึ่งกองทัพอากาศสามารถผลิตจรวดที่นำสารเคมีบรรจุในหัวจรวด แล้วยิงขึ้นฟ้าที่ระดับความสูง ๑-๑.๕ กม.
ในช่วงฤดูแล้งของ พ.ศ.๒๕๓๐ ได้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคอย่างรุนแรงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในพื้นที่ ๘ จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาวะดังกล่าวได้สร้างความเดือดร้อนทุกข์ยากให้ประชาชนอย่างหนัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานกระแสพระราชดำรัสแก่ ผู้บัญชาการทหารบก เมื่อ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๐ ให้หาลู่ทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร็วด้วย อันนำไปสู่โครงการน้ำพระทัยจากในหลวง หรือโครงการอีสานเขียว
ในปีเดียวกันนี้เอง กองทัพเรือก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมปฏิบัติงานในโครงการปฏิบัติฝนหลวงพิเศษตามพระราชดำริ ภายใต้โครงการน้ำพระทัยจากในหลวง หรือโครงการอีสานเขียว และในทุกปีที่ผ่านมา ในส่วนของกองเรือยุทธการ จะทำพิธีส่งเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษกองทัพเรือ ประมาณต้นเดือนมีนาคม ณ กองการบินทหารเรือ จะมีโอกาสอวดธงราชนาวีเหนือน่านฟ้าของไทย ในภารกิจบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน
บัดนี้ โครงการฝนหลวงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริไว้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๘ ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลแก่อาณาประชาราษฎร์ ช่วยให้พื้นที่ที่เคยแห้งแล้งกลับมีความชุ่มชื่น ก่อให้เกิดความชุ่มฉ่ำแก่แผ่นดิน แม้แต่น้ำในเขื่อนต่างๆ ที่ใกล้จะหมดก็มีปริมาณมากขึ้น ทั้งนี้ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาญาณ ในพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช อย่างแท้จริง

http://tka29005.blogspot.com/


โครงการแก้มลิง

1. ความเป็นมาของโครงการ
               เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริโครงการแก้มลิงซึ่งเป็นโครงการระบายน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระรบรมมหาราชวัง เนื่องจากในช่วงฤดูฝนน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณมาก ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลติดต่อกันหลายวัน พร้อมทั้งน้ำทะเลหนุนสูง จึงทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าสู่พื้นที่ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งโดยปกติแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถรับน้ำได้ประมาณ 3,000 ลบ.ม./วินาที โดยไม่ล้นตลิ่ง แต่เมื่อปี พ.ศ.2538 ในช่วงฤดูน้ำหลากมีปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 5,500 ลบ.ม./วินาที น้ำจึงล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำเป็นอาณาบริเวณกว้างขวาง              
               ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาโครงการแก้มลิง ที่สมควรดำเนินการให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ และพื้นที่ในเขตจังหวัดสมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร โดย "แก้มลิง" นี้ให้ทำหน้าที่รวบรวมน้ำ รับน้ำ และดึงน้ำท่วมขังพื้นที่ทางตอนบนมาเก็บไว้ พร้อมกับระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้น - ลงของระดับน้ำทะเล โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก และการสูบน้ำที่เหมาะสมสอดคล้องกับโครงการแก้มลิง ตามแนวพระราชดำริที่พระราชทานไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ..2538 โดยอาศัยคลองสรรพสามิต คลองสหกรณ์ และพื้นที่บริเวณใกล้คลองดังกล่าวนั้น จากการศึกษาข้อมูลพบว่าสภาพพื้นที่โดยทั่วไปไม่เอื้ออำนวยในการทำโครงการ อีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง จึงควรพิจารณาศึกษาโครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" และคลองต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงแทน เนื่องจากคลองมหาชัย - คลองสนามชัยนี้ เป็นแหล่งรับน้ำใกล้บริเวณน้ำท่วมขังในเขตจังหวัดสมุทรสาคร นครปฐม และกรุงเทพฯ ที่ระบายน้ำลงมา ลักษณะโครงการที่สำคัญจะประกอบด้วย การก่อสร้างประตูระบายน้ำปิดกั้นคลองต่าง ๆ พร้อมด้วยสถานีสูบน้ำตามความจำเป็น ซึ่งคาดว่าจะเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนไม่มากนัก และจะได้ประโยชน์คุ้มค่า รวมทั้งยังสามารถสร้างระบบให้เชื่อมกับโครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" รวมเป็นระบบในการช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในหลายจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งศึกษา และพิจารณาดำเนินการโครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" โดยเร่งด่วนต่อไป
1.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ
               โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีวัตถุประสงค์ในการช่วยระบายน้ำท่วมขังจากพื้นที่ตอนบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อระบายน้ำออกสู่ทะเลโดยเร็วที่สุด โดยการก่อสร้างประตูระบายน้ำ (ปตร.) ปิดกั้นคลองสายต่าง ๆ พร้อมสถานีสูงน้ำตามความจำเป็น โดย "แก้มลิง" จะทำหน้าที่รวบรวม รับ และดึงน้ำท่วมขังจากพื้นที่ตอนบนลงมาเก็บไว้ในคลองมหาชัย - คลองสนามชัย และคลองต่าง ๆ ในพื้นที่ แล้วสูบทิ้งลงทะเลผ่านทางปากคลองมหาชัย คลองพระราม และคลองขุนราชพินิจใจ ในช่วงที่ระดับน้ำทะเลหนุนสูง รวมทั้งการเปิดระบายออกสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้น - ลง ของน้ำทะเล โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก เช่นเดียวกับโครงการทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งดำเนินการได้ผลมาแล้วเมื่อคราวน้ำท่วมใหญ่ ปี พ.ศ. 2538
1.2 ขอบเขตโครงการ
               ขอบเขตของพื้นที่โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" สรุปได้ดังนี้
               ทิศเหนือ  ติดเขต อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ โดยอาศัยคลองมหาสวัสดิ์เป็นแนวรับน้ำ
               ทิศตะวันออก  ติดต่อแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ใต้สะพานพระราม 7 ลงไปจดเขตราษฎร์บูรณะ เขตพระประแดงกิ่ง อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ โดยมีคลองขุนราชพินิจใจเป็นแนวแบ่งเขต

              ทิศใต้  จดชายทะเลในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ และเขต อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
1.3 เป้าหมายโครงการ
               1. เร่งระบายน้ำลงสู่พื้นที่แก้มลิงโดยเร็วที่สุด โดยแบ่งปริมาณน้ำให้ระบายไปตามคลองระบายน้ำ และแหล่งเก็บชะลอน้ำตามประสิทธิภาพที่มีอยู่เดิม และสมดุลกับปริมาณน้ำหลาก
               2. ปรับปรุงคลองระบายน้ำให้สามารถระบายน้ำได้ตามที่ได้ศึกษากำหนดแนวทางไว้
               3. ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำต่าง ๆ ตามที่กำหนดและวางแผนไว้
               4. ดำเนินการโครงการ โดยประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสามารถดำเนินการก่อสร้างระบบระบายน้ำได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน                         
1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
               1. ช่วยระบายน้ำท่วมขังในที่ลุ่มทิ้งลงทะเล
               2. ช่วยลดระยะเวลาน้ำท่วมขังให้สิ้นลง
               3. ลดปัญหาความตึงเครียดทางด้านจิตใจของราษฎรในพื้นที่น้ำท่วม
               4. ลดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม
               5. ลดค่าใช้จ่ายในการบูรณะซ่อมแซมสาธารณูปโภคต่าง ๆ
               6. การชัดน้ำจืดจากแม่น้ำท่าจีนเพื่อนำมาช่วยไล่น้ำเสีย
               7. ช่วยให้มีการชัดน้ำจืดจากแม่น้ำท่าจีนเพื่อนำมาช่วยไล่น้ำเสีย
               เมื่อดำเนินการก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำในแม่น้ำท่าจีนตอนล่างในเขตจังหวัดสมุทรสาครเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะทำให้มีแหล่งน้ำจืดในฤดูแล้งเพียงพอสำหรับนำมาใช้ไล่น้ำเสียได้ ปัจจุบันน้ำในคลองภาษีเจริญและคลองมหาชัย รวมทั้งทางน้ำที่ต่อเนื่องในเขต กทม. ส่วนใหญ่จะมีน้ำเสียเป็นปริมาณมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้งสถานีสูบน้ำต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" สามารถช่วยสูบน้ำเสียออกทิ้งลงทะเลในช่วงเวลาที่เหมาะสม แล้วผันน้ำจืดจากแม่น้ำท่าจีนเข้าไปล้างคลองต่าง ๆ เหล่านั้น อย่างไรก็ดีเรื่องนี้จะต้องพิจารณาดำเนินการโดยรอบคอบ เพราะจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับบ่อกุ้ง บ่อปลา ในเขตตำบลโคกขาม ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วย
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-1/no36-41/king/sec04p03.html

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คำอวยพรเปิดภาคเรียนใหม่...แด่เพื่อนๆ

เปิดภาคเรียนใหม่แล้ว..ขอให้ผ่องแผ้วสุขสันต์
เรียนหนังสือ...ขอให้สนุกทั้งวัน
คิดสิ่งใดนั้น...ขอให้สมฤทัย
สมองปลอดโปร่ง...โล่งโปร่งใส
ทำงานส่งอาจารย์...ได้เร็วไว
ถึงช่วงท้ายทำข้อสอบได้...ได้เกรดA